งบดุล คืออะไร มาทำความเข้าใจ และศึกษาจากบทความนี้ได้เลย

วันนี้แอดมินจะพาทุกท่านไปศึกษา และทำความเข้าใจเกี่ยวกับ งบดุล ว่าคืออะไร แล้วทำไมถึงมีความสำคัญต่อธุรกิจ มาอ่านกันได้เลยค่ะ

งบดุล จริงๆแล้วคำว่างบดุลนั้นเป็นคำที่ถูกยกเลิกไปแล้ว โดยตามมาตรฐานบัญชีได้เปลี่ยนคำว่างบดุล เป็น งบแสดงฐานะการเงิน เพื่อให้ชื่องบการเงินแสดงความหมายที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

งบดุลคืออะไร

งบดุลคืองบการเงินที่แสดงให้เห็นยอด ณ วันที่สิ้นงวด ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง เช่น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 ว่าบริษัทมีสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นจำนวนเท่าใด ยกตัวอย่างเช่น ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 บริษัทมีเงินสด 100 บาท ลูกหนี้ 200 บาท สินค้า 300 บาท เจ้าหนี้การค้า เป็นจำนวน 400 บาท เป็นต้น ซึ่งจะแสดงให้เห็นว่า ณ วันนั้นๆบริษัทมีฐานะการเงินเป็นอย่างไร

งบดุล

ทำไมจึงต้องมีการเปลี่ยนชื่อจาก งบดุล เป็น งบแสดงฐานะการเงิน

ตามที่ได้อธิบายไปแล้วว่า คำว่างบดุลนั้นเป็นคำที่ถูกยกเลิกไปแล้ว โดยตามมาตรฐานบัญชีได้เปลี่ยนคำว่างบดุล เป็น งบแสดงฐานะการเงิน เพื่อให้ชื่องบการเงินแสดงความหมายที่ถูกต้องมากยิ่งขึ้น

หากลองพิจารณาดู คำว่า งบดุล นั้นไม่ได้แสดงความหมายอะไรเลย โดยความหมายแสดงเพียงว่างบการเงินนั้นจะต้องสมดุลกัน กล่าวคือ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ ซึ่งให้ความหมายในมุมดังกล่าวเพียงเท่านั้นแต่ไม่ได้ให้ความหมายอื่นที่ทำให้ผู้ใช้งบการเงินทราบว่างบดุลคืออะไร

ท่านใดอยากศึกษาที่มาของ สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ

ดังนั้นมาตรฐานรายงานทางการเงินของต่างประเทศจึงมีการเปลี่ยนชื่องบการเงินเพื่อให้ชื่อของงบการเงินนั้นสามารถสื่อถึงความหมายที่ดียิ่งขึ้น ดังนั้นมาตรฐานรายงานทางการเงินของต่างประเทศ จึงเปลี่ยนชื่องบจาก Balance sheet เป็น Statement of financial position หลังจากนั้นมาตรฐานรายงานทางการเงินของประเทศไทย จึงมาปรับชื่องบภาษาไทยให้ถูกต้องตามมาตรฐานรายงานทางการเงินของต่างประเทศ จึงเป็นที่มาในการเปลี่ยนชื่องบการเงินนี้จาก งบดุล เป็น งบแสดงฐานะการเงิน

โครงสร้างของงบดุล

งบดุลจะแบ่งส่วนประกอบเป็น 3 ส่วนหลักๆดังนี้

  1. สินทรัพย์ – ทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของกิจการ และสามารถก่อให้เกิดประโยชน์เชิงเศรษฐกิจต่อกิจการได้ เช่น เงินสด ลูกหนี้ สินค้า ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน เป็นต้น
  2. หนี้สิน – ภาระผูกพันที่เป็นผลจากอดีตถึงปัจจุบัน ทำให้กิจการต้องสูญเสียประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต (เพราะต้องจ่ายชำระคืน) เช่น เจ้าหนี้ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เงินกู้ยืม เป็นต้น
  3. ส่วนของผู้ถือหุ้น – มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ หลักจากหักหนี้สินทั้งสิ้นออกแล้ว ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้ ส่วนของเจ้าของ = สินทรัพย์ – หนี้สิน

งบดุล

สรุปงบดุลคืออะไร

ถ้าถามว่างบดุลคืออะไร? จริงๆแล้วก็ต้องตอบว่างบดุลก็คืองบแสดงฐานะการเงิน และมีโครงสร้างงบการเงินและหลักการต่างๆเหมือนกันทุกประการ เพียงแต่คำว่างบดุลนั้นเป็นชื่อเดิม และยกเลิกคำนี้ไปแล้ว ส่วนคำว่างบแสดงฐานะการเงิน เป็นชื่อเรียกงบการเงินดังกล่าวในปัจจุบัน ดังนั้นเพื่อให้ทันสมัยต่อไปทุกท่านหากจะเรียกชื่องบการเงินดังกล่าวให้ใช้คำว่า งบแสดงฐานะการเงิน กันนะคะ

เป็นอย่างไรบางคะ ความรู้เกี่ยวกับงบดุลที่วันนี้แอดมินนำมาฝาก หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกท่านนะคะ และท่านไหนที่สนใจเกี่ยวกับระบบ SunSystems หรือบริการอื่นๆ ของ IMAS สามารถติดต่อได้ที่ Chanaporn@i-mas.net หรือ sunsupport@i-mas.net สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-6667400 หรือ Line Official : @imas.official (มี @ ด้วยนะคะ)