เริ่มกันไปแล้วสำหรับมาตรการ “Easy E-receipt 2.0” ที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และทำให้เราได้เตรียมการลดหย่อนภาษีในปี 2569 ได้เลย ในสัปดาห์ที่แล้วเราได้พูดถึงภาพรวมของมาตรการนี้ไปแล้ว แต่ในวันนี้ทาง IMAS เราจะมาเจาะลึกถึงกลุ่มสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ และไม่เข้าร่วมโครงการว่ามีอะไรบ้าง และจะสังเกตอย่างไรให้รู้ว่าสินค้านั้นเข้าร่วมโครงการ
สินค้าและบริการที่ลดหย่อนภาษีได้
- สินค้า และบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
โดยปกติสินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะมีใบกำกับภาษีออกมาพร้อมกันด้วย ซึ่งการใช้สิทธิลดหย่อน Easy E-Receipt 2.0 จะต้องใช้ในกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ที่ปรากฏชื่อและข้อมลผู้ชื่อด้วยเท่านั้น (รอประกาศเป็นกฎหมาย) (ไม่สามารถใช้ใบกำกับภาษีแบบกระดาษได้) ตัวอย่างสินค้าหรือบริการที่ลดหย่อน Easy E-Receipt 2.0 ได้ เช่น คอมพิวเตอร์ เสื้อผ้าแบรนด์เนม ของใช้ในบ้าน เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น - สินค้า และบริการที่ไม่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (noท-VAT)
บางรายการ ค่าซือสินค้าหรือบริการที่ไม่ได้เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม มีเพียงบางรายการที่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีในโครงการ Easy E-Receipt 2.0 ได้ ได้แก่ หนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร E-Book สินค้า OTOP หรือสินค้า/บริการจากวิสาหกิจชุมชน และวิสาหกิจเพื่อสังคมเท่านั้น ทั้งนี้ ต้องใช่ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Receipt) ที่ปรากฏชื่อและข้อมูลผู้ชื่อด้วยเท่านั้น” (ไม่สามารถใช้ใบเสร็จรับเงินแบบกระดาษได้)
ดังนั้น หากเป็นการซื้อสินค้าที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอื่นๆ เช่น ทองคำแท่ง, บัตร Gift Voucher หรือ จ่ายค่า
บริการที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ค่ารักษาพยาบาลหรือค่าท่าทำศัลยกรรม จะไม่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ - สินค้า OTOP หรือสินค้า/บริการจากวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจเพื่อสังคม
สินค้า OTOP หรือสินค้า/ปริการจากวิสาหกิจชุมชนและวิสาหกิจเพื่อสังคม ที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีใน
โครงการ Easy E-Receipt 2.0 ได้จะเป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องมีใบกำกับภาษี
อิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax Invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรธนิกส์ (E-Receipt) ตามมาตรฐานของกรมสรรพากร
และสินค้า/บริการดังกล่าวจะต้องเข้าหลักเกณฑ์การลงทะเบียนหรือจดทะเบียนต่อไปนี้แล้วเท่านั้น
ㆍค่าชื่อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นสินค้าที่ได้ลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชมชนแล้ว
ㆍ ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชน ที่ได้จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
ㆍ คำซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จำยให้แก่วิสาทกิจเพื่อสังคม ที่ได้จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
สินค้า และบริการที่ไม่ได้รับสิทธิลดหย่อน
สินค้าและบริการต่อไปนี้ไม่อยู่ในเกณฑ์ได้รับสิทสิทธิลดหย่อน Easy Receipt 2.0 แม้ผู้ประกอบการจะสามารถออก E-
tax invoice หรือ E-receipt ได้ก็ตาม
- ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
- ค่าซื้อยาสูบ
- ค่าซื้อน้ำมัน ค่าซื้อก๊าซ และค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ
- ค่าชื่อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ (รถจักรยานยนต์ รวมถึงรถจักรยานที่ติด
เครื่องยนต์) และค่าซื้อเรือ - ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ และค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
- ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการ และผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาของ
มาตรการ กล่าวคือ เริ่มต้นก่อนวันที่ 16 มกราคม 2568 หรือสิ้นสุดหลัง 28 กุมภาพันธ์ 2568 แม้ว่าจะจ่ายค่ายค่า
บริการระหว่างวันที่ 16 มกราคม – 28 กุมภาพันธ์ 2568 ก็ตาม - ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
- คำบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจนำเที่ยว และค่าที่พักโรงแรม ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย หรือค่าที่
พักในสถานที่พักที่ไม่เป็นโรงแรม
นอกจากนี้ สินค้า และบริการต่อไปนี้ก็ไม่เข้าเกณฑ์ใช้สิทธิลดหย่อน Easy E-Receipt ได้เนื่องจากเป็นสินค้าและ
บริการไม่อยู่ในกลุ่มที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เช่น ทองคำ, ค่ารักษาพยาบาล, ค่าทำศัลยกรรม, ผักผลไม้สด, เนื้อสัตว์สด, หน้ากากอนามัย อุปกรณ์การแพทย์ และบัตรของขวัญ (Gift Voucher) ที่ซื้อจากห้างสรรพสินค้า
หลักฐานที่ต้องใช้ในการขอใช้สิทธิลดหย่อน ‘Easy E-Receipt’ ได้
- ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปเฉพาะแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ที่ระบข้อมูลผู้ขาย และระบุชื่อ นามสกล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของคณ (เลขบัตรประชาชน 13 หลัก) รวมถึงวันที่ รายการและจำนวนเงินด้วย หรือ
- ใบเสร็จรับเงินเฉพาะแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ที่ระบุข้อมูลผู้ขาย และระบุชื่อ นามสกุล และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของคุณ (เลขบัตรประชาชน 13 หลัก) รวมถึงวันที่ รายการและจำนวนเงินด้วย
ทั้งนี้ การระบุชื่อที่อยู่ของผู้ชื่อในใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี จะระบุตามที่อยู่ตามบัตรประชาชนหรือที่อยู่ปัจจุบันก็ได้ แต่ถึงแม้จะระบุที่อยู่ไม่ถูกต้องก็ยังสามารถใช้หักลดหย่อนได้อยู่ดี หากใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีนั้นนั้นมีข้อความอื่นๆ ครบถ้วนถูกต้องแล้ว
ช่องทางตรวจสอบว่าผู้ประกอบการสามารถออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ได้
เนื่องจากปัจจบัน กรมสรรพากรมีระบบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ 2 แบบ ได้แก่ ระบบ e-Tax invoice & &-
Receipt และระบบ e-Tax invoice by Time Stamo ดังนั้น คุณจึงมีช่องทางตรวจสอบรายชื่อผู้ประกอบการฯ 2 ช่อง
ทาง ดังนี้
- ผู้ประกอบการ e-Tax invoice & e-Receipt –
https://etax.rd.go.th/etax_staticpage/app/#/index/registered%23top - ผู้ประกอบการ e-Tax invoice by Time Stamp –
https://interapp3.rd.go.th/signed_inter/publish/register.php
หากท่านไหนที่สนใจเกี่ยวกับระบบ SunSystems, CheckSCM หรือบริการอื่นๆ ของ IMAS สามารถติดต่อได้ที่ sale@i-mas.net สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-6667400 หรือ Line Official : @imas.official (มี @ ด้วยนะครับ)
Reference : https://itax.in.th