ไปดูขั้นตอนการจัดทำรายงานทางการเงิน ว่ามีอะไรบ้าง และต้องทำอย่างไร

วันนี้แอดมินจะพาทุกท่านไปดูขั้นตอนการจัดทำรายงานทางการเงิน ว่ามีอะไรบ้าง และต้องทำอย่างไร ขั้นตอนมีอยู่ 7 ข้อด้วยกันค่ะ ซึ่งบางท่านอาจจะมองว่าหลายข้อ แต่วิธีการจัดทำรายงานทางการเงินนั้น ไม่ยากเลยค่ะ วันนี้แอดมินนจะบอกให้ทุกท่านเข้าใจได้ง่าย และสามารถทำตามได้สบาย ไปดูกันเลยค่ะ

1.การวิเคราะห์รายการ

    จะวิเคราะห์รายการที่เกิดขึ้นไว้ในใบสำคัญรับและใบสำคัญจ่ายที่จัดทำขึ้น ซึ่งใบสำคัญเหล่านี้อาจจะมีเอกสารภายในหรือเอกสารภายนอกอื่น ๆ แนบเป็นหลักฐาน

    2. การบันทึกรายการลงในสมุดรายวัน

    สมุดขั้นต้นที่ใช้คือ สมุดรายวันทั่วไป สมุดรายวันรับเงิน สมุดรายวันจ่ายเงิน สมุดรายวันซื้อ สมุดรายวันขาย

    รายงานทางการเงิน

    3. การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภททั่วไป

    การผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทรูปตัวที หรือ แบบ 3 ช่อง โดยมีลักษณะดังนี้

    • แบบบัญชีแยกประเภททั่วไป (แบบมาตรฐาน) มีลักษณะคล้ายตัวอักษรภาษาอังกฤษ คือตัว T ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ทางด้านซ้ายมือคือด้านลูกหนี้หรือเดบิต (Debit) ทางด้านขวามือคือด้านเจ้าหนี้หรือด้านเครดิต (Credit)
    • แบบบัญชีแยกประเภทย่อย (แบบแสดงยอดดุล) มีลักษณะคล้ายกับรูปแบบของสมุดรายวันทั่วไป แต่มีช่องยอดคงเหลือ เพิ่มขึ้นมา เพื่อแสดงรายการคงเหลือทุกครั้งที่มีการบันทึกรายการและเมื่อต้องการทราบยอดคงเหลือ

    4. การจัดทำงบทดลองก่อนรายการปรับปรุง

    หายอดคงเหลือบัญชีแยกประเภทแต่ละบัญชี นำมาจัดทำ

    5. การทำรายการปรับปรุง

    จัดทำรายการปรับปรุงโดยใช้สมุดรายวันทั่วไป และผ่านรายการไปยังบัญชีแยกประเภทที่เกี่ยวข้อง และจะจัดทำงบทดลองหลังรายการปรับปรุง

    รายงานทางการเงิน

    6. การจัดทำรายงานทางการเงิน

    จัดทำงบกำไรขาดทุนและงบดุล รวมทั้งระบบรายงานที่ต้องการอื่นๆ

    7. การปิดบัญชีและการหายอดยกไป

    การปิดบัญชีแยกประเภท จะแยกเป็น 2 กรณี คือ

    • กรณีที่ 1 การปิดบัญชีประเภทบัญชีชั่วคราว (Temporary Accounts) ได้แก่ บัญชีรายได้ ค่าใช้จ่าย ถอนใช้ส่วนตัว/เงินถอน กำไรขาดทุน และต้นทุนขาย ซึ่งทำให้ได้โดยการผ่านรายการปิดบัญชีจากสมุดรายวันทั่วไป ไปบัญชีแยกประเภททั่วไป ซึ่งจะมีผลทำให้บัญชีเหล่านั้นมียอดคงเหลือเป็นศูนย์ เนื่องจากถูกโอนไปบัญชีส่วนของเจ้าของ (ทุน)
    • กรณีที่ 2 การปิดบัญชีประเภทบัญชีถาวร (Permanent Accounts) ซึ่งได้แก่บัญชีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ (ทุน) ซึ่งทำได้ดดยยอดคงเหลือยกไป และยอดคงเหลือยกมา (Balancing)

    เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ไม่ยากเลยใช่ไหมคะ ท่านไหนที่สนใจเกี่ยวกับระบบ SunSystems หรือบริการอื่นๆ ของ IMAS สามารถติดต่อได้ที่ Chanaporn@i-mas.net หรือ sunsupport@i-mas.net สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-6667400 หรือ Line Official : @imas.official (มี @ ด้วยนะคะ)

    Cr. dst