งบการเงินเป็นสิ่งที่ผู้ที่ทำธุรกิจทุกท่านตองรู้ เพราะเป็นสิ่งที่ทุกธุรกิจต้องทำ วันนี้จะพาไปดูว่างบการเงินคืออะไร มีอะไรบ้าง และทำอย่างไร
งบการเงิน (Financial Statement) หมายถึง รายงานทางการเงินที่แสดงฐานะทางการเงิน และผลการดำเนินงานของกิจการ ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ณ วันสิ้นงวดบัญชี อาจจะเป็นระยะเวลา 3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี
ส่วนประกอบของงบการเงินที่สมบูรณ์ ควรประกอบด้วย
- งบดุล (Balance Sheet)
- งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement)
- งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ (Statement of changes in owner’s equity)
- งบกระแสเงินสด ( Cash Flow statement)
- หมายเหตุประกอบเงินการเงิน (Note to Financial Statement)
1. งบกำไรขาดทุน (Profit and Loss Statement) หมายถึง งบที่แสดงผลการดำเนินงานของกิจการว่ามีผลกำไร หรือ ขาดทุนสุทธิเท่าใดประกอบด้วยรายละเอียดของรายได้และค่าใช้จ่าย
2. งบดุล (Balance Sheet) หมายถึง งบที่แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งประกอบด้วยรายละเอียด ของสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของ(ทุน)
รูปแบบของงบกำไรขาดทุนและงบดุล
1. รูปแบบของงบกำไรขาดทุน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
- แบบรายงาน (Report Form) รายการแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่หนึ่งเป็นส่วนของรายได้ ตอนที่สองเป็นส่วนของค่าใช้จ่าย และตอนที่สามคือกำไรสุทธิหรือขาดทุนสุทธิ
- แบบบัญชี (Account Form) เป็นแบบที่แสดงรายการแบบตัว T ในภาษาอังกฤษ โดยแบ่งออกเป็นสองด้าน คือ ด้านซ้ายมือ (เดบิต) บันทึกรายการเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย ด้านขวามือ (เครดิต) บันทึกรายการเกี่ยวกับรายได้
2. รูปแบบของงบดุล คือ แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
- แบบรายงาน (Report Form) จะแสดงรายการเรียงกันตามลำดับของหมวดบัญชี คือ หมวดสินทรัพย์ หมวดหนี้สิน และส่วนของเจ้าของ ผลรวมของหมวดสินทรัพย์จะต้องเท่ากับผลรวมของหมวดหนี้สิน และส่วนของเจ้าของ
- แบบบัญชี (Account form) จะแสดงรายการบัญชีหมวดสินทรัพย์ทางด้านซ้ายมือ (เดบิต) หนี้สินและส่วนของเจ้าของ จะแสดงรายการด้านขวามือ (เครดิต) และผลรวมด้าน เดบิต จะต้องเท่ากับด้านเครดิต
การจัดทำงบกำไรขาดทุนแบบรายงานและแบบบัญชี
1. การทำงบกำไรขาดทุนแบบรายงาน
1.1 ส่วนหัวงบ มี 3 บรรทัด คือ
- บรรทัดที่ 1 เขียน “ชื่อกิจการ”
- บรรทัดที่ 2 เขียนคำว่า “งบกำไรขาดทุน”
- บรรทัดที่ 3 เขียนระยะเวลาที่จัดทำงบกำไรขาดทุน
1.2 เขียนคำว่า “รายได้” ทางด้านซ้ายมือแล้วนำบัญชีรายได้หลักและรายได้อื่น ๆ ของกิจการมาลงรายการโดยเขียน เยื้องไปทางขวามือเล็กน้อย และเขียนจำนวนเงินทางขวามือแล้วรวมยอดรายได้ทั้งหมด
1.3 เขียนคำว่า “ค่าใช้จ่าย” ทางซ้ายมือให้ตรงกับรายได้ และนำบัญชีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นทั้งหมดเขียนเยื้องไปทาง ขวามือเล็กน้อย พร้อมเขียนจำนวนเงินทางขวามือแล้วรวมยอดค่าใช้จ่ายทั้งหมด
1.4 หาผลต่างระหว่างยอดรวมรายได้ และยอดรวมค่าใช้จ่าย ถ้ายอดรวมรายได้มากกว่ายอดรวมค่าใช้จ่าย ผลต่างคือ กำไรสุทธิ ถ้ายอดรวมค่าใช้จ่ายมากกว่ายอดรวมรายได้ผลต่างคือขาดทุนสุทธิ
2. การทำงบกำไรขาดทุนแบบบัญชี
2.1 เขียนส่วนหัวงบ 3 บรรทัด
2.2 ลงรายการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทางด้านซ้ายมือเรียงลงมาตามลำดับ และลงรายการเกี่ยวกับรายได้ทางด้านขวามือ เรียงลงมาตามลำดับ
2.3 รวมยอดรายได้ เขียนกำไรสุทธิทางด้านเดบิต ส่วนขาดทุนสุทธิเขียนทางด้านเครดิต
งบดุล
การทำงบดุลแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
1. การจัดทำงบดุลแบบรายงาน
1.1 ส่วนหัวงบ 3 บรรทัด
- บรรทัดแรก เขียน “ ชื่อกิจการ ”
- บรรทัดที่สอง เขียนกำไรขาดทุนในและบรรทัดที่สามเขียนระยะเวลาบัญชี
1.2 เขียนคำว่า “ สินทรัพย์ ” ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ แล้วนำบัญชีหมวดทรัพย์สินมาลงรายการทางด้านซ้ายมือ และ เขียนจำนวนเงินทางขวามือ
1.3 เขียนคำว่า “ หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ” กลางหน้ากระดาษ แล้วนำบัญชีหมวดหนี้สินมาลงรายการทางซ้ายมือ และเขียนจำนวนเงินทางขวามือแล้วรวมยอดหนี้สิน สุดท้ายรวมยอดหนี้สินและส่วนของเจ้าของ ซึ่งต้องเท่ากับยอดรวมของสินทรัพย์ ทั้งหมด
2. การจัดทำงบดุลแบบบัญชี
2.1 ส่วนหัวเขียนเหมือนกับแบบรายงาน
2.2 แบ่งสินทรัพย์ไว้ทางซ้ายมือ หนี้สินและส่วนของเจ้าของไว้ทางขวามือ
2.3 ยอดรวมของสินทรัพย์ทางซ้ายมือ จะต้องเท่ากับยอดรวมรวมหนี้สินและส่วนของเจ้าของทางขวามือ
ประโยชน์ของการทำงบการเงิน
- เป็นหลักฐานในการบันทึกรายการเปิดบัญชี เมื่อเริ่มรอบระยะเวลาบัญชีใหม่
- เป็นเอกสารรายงานต่อทางราชการ และยังเป็นเอกสารใช้ประกอบการกู้ยืมเงินจากสถาบัน การเงินได้
- ทำให้ทราบผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการค้าได้
เป็นอย่างไรบางคะ ความรู้เกี่ยวกับงบการเงินที่วันนี้แอดมินนำมาฝาก หวังว่าจะมีประโยชน์กับทุกท่านนะคะ และท่านไหนที่สนใจเกี่ยวกับระบบ SunSystems หรือบริการอื่นๆ ของ IMAS สามารถติดต่อได้ที่ Chanaporn@i-mas.net หรือ sunsupport@i-mas.net สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-6667400 หรือ Line Official : @imas.official (มี @ ด้วยนะคะ)