7 วิธีเขียนแผนธุรกิจสำหรับมือใหม่ ทำเองง่ายๆ กำไรเพิ่ม!

การสร้างธุรกิจให้ประสบความสำเร็จไม่ใช่เรื่องง่ายเลยใช่ไหมครับ ? เพราะนอกจากเรื่องของไอเดียเริ่มต้นแล้ว การเขียนแผนธุรกิจเป็นอีกหนึ่งสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เราสามารถดำเนินกิจการได้อย่างราบรื่น การมีแผนการที่ดีเป็นอีกหนึ่งแรงจูงใจให้นักลงทุนเห็นถึงโอกาสความสำเร็จ พร้อมที่จะสนับสนุนให้ธุรกิจของเราสามารถเดินหน้าต่อไปได้ ดังนั้น ในวันนี้ IMAS จึงนำแนวทางในการเขียนแผนและตัวอย่างแผนธุรกิจดีๆ มาฝากทุกคนครับ

Q : การวางแผนธุรกิจคืออะไร? ทำไมถึงต้องทำ?

“แผนธุรกิจ” คือ แนวทางที่จะทำให้เราสามารถมองเห็นภาพรวมทั้งหมด ตั้งแต่แนวคิด ที่มา วิธีการ และจุดแข็งของธุรกิจ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่จะทำให้เราประสบความสำเร็จได้อย่างเป็นระบบ และที่สำคัญหากคุณสามารถวางแผนธุรกิจได้ดี แถมยังนำมาใช้เป็นใบเบิกทางในการจัดหาเงินทุน หรือได้รับการอนุมัติจากผู้ให้บริการสินเชื่อเพื่อธุรกิจได้ง่ายขึ้นครับ โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีขั้นตอนในการเขียนทั้งหมด 7 ข้อ ดังนี้

1. แนวคิดหลักในการทำธุรกิจ (Business Idea)

แนวคิดหลักในการทำธุรกิจ คือ ส่วนที่เราจะใช้ในการนำเสนอ สร้างความเข้าใจในโครงสร้างและภาพรวมทั้งหมดของธุรกิจให้กับผู้บริโภค จึงเป็นส่วนที่มีความสำคัญมากในแผนธุรกิจ เพราะข้อมูลส่วนนี้สามารถใช้ในการดึงดูดให้ผู้บริการแหล่งเงินทุนสนใจในธุรกิจของเรา โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีความยาวอยู่ที่ 1-2 หน้ากระดาษ A4 ซึ่งประกอบด้วย

  1. ภาพรวมธุรกิจ คือ การเขียนถึงแนวคิด ที่มา และใจความสำคัญของธุรกิจของเรา
  2. โอกาสและการแข่งขัน คือ การคาดการณ์ถึงโอกาสในการเติบโตในท้องตลาดที่เต็มไปด้วยคู่แข่ง ว่าเราสามารถอยู่รอดได้อย่างไรบ้าง?
  3. เป้าหมาย คือ การวางเป้าหมายทางธุรกิจ เพื่อให้เรามองหาแนวทางในการพัฒนาธุรกิจได้อย่างชัดเจน ทั้งระยะสั้นและระยะยาว
  4. กลยุทธ์ คือ การอธิบายแนวทางและวิธีการในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ
  5. แผนการลงทุน คือ แผนเกี่ยวกับค่าใช่จ่าย เพื่อประเมินความเสี่ยงในการลงทุน ทำให้เราสามารถมองเห็นได้ว่า การจะสร้างธุรกิจขึ้นมา ต้องจัดสรรเงินทุนที่มีอยู่อย่างไรให้เกิดความคุ้มค่าที่สุด หรืออาจจะลองสูตร
  6. ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ คือ การกำหนดผลตอบแทนที่จะได้รับจากการประเมินความเสี่ยงของการพัฒนาธุรกิจ เช่น ยอดขาย จำนวนสาขา หรือจำนวนสมาชิก

2. ความเป็นมาของธุรกิจ (Business Background)

คือ การอธิบายถึงลักษณะของธุรกิจในปัจจุบัน และสิ่งที่จะถูกพัฒนาขึ้นในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นประวัติความเป็นมา ข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นส่วน ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ ที่อยู่รวมไปถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจ

3. วิเคราะห์ความเสี่ยง และโอกาส (Brand Analysis)

คือการนำแผนธุรกิจทั้งหมด มาวิเคราะห์หาจุดแข็ง จุดอ่อน และความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เพื่อที่จะทำให้เรามองเห็นถึงปัจจัยทั้งภายใน และภายนอกที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของธุรกิจ โดยส่วนใหญ่แล้วจะวิเคราะห์ออกมาในรูปแบบของ SWOT Analysis

4. แผนการตลาด (Marketing Plan)

เป็นส่วนที่อธิบายถึงกลยุทธ์ในการทำการตลาด การสื่อสารการตลาด และวิธีการเข้าถึงลูกค้า โดยส่วนใหญ่แล้วจะสรุปโดยใช้ส่วนผสมการตลาด (4P Marketing) ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้แหล่งเงินทุนมองเห็นแนวทางในการดำเนินธุรกิจ ความเป็นไปได้ในการเข้าถึงกลุ่มลูกค้า และอยากร่วมลงทุนกับเรามากขึ้น

5. แผนการดำเนินงาน (Operation Plan)

คือการวางกำหนดการในการสร้างธุรกิจ ซึ่งแต่ละสถานประกอบการจะมีรูปแบบและแนวทางในการดำเนินงานต่างกันไป อย่างเช่นธุรกิจร้านอาหารอาจจะเพิ่มเติมในส่วนของตัวช่วยระบบการจัดการร้าน POS เข้ามาในขั้นตอนควบคุมวัตถุดิบและคลังสินค้าด้วยก็ได้ โดยขั้นตอนในการดำเนินหลัก ๆ จะประกอบด้วย

  1. แผนการผลิต
  2. แผนการควบคุมคุณภาพ
  3. แผนการบริหารพนักงาน
  4. แผนการควบคุมวัตถุดิบ
  5. แผนการจัดส่ง
  6. แผนการควบคุมคลังสินค้า
  7. แผนการบริการลูกค้า

6. แผนการเงิน (Financial Plan)

แผนการเงินเป็นส่วนที่สำคัญมากในการวางแผนธุรกิจ เพราะเป็นส่วนที่มีความเสี่ยงสูง และหากวางแผนไม่ดีอาจจะทำให้ธุรกิจของคุณเสี่ยงต่อการขาดทุนได้ ซึ่งส่วนนี้มีผลต่อการตัดสินใจของสถาบันบริการเงินทุนเป็นอย่างมาก โดยส่วนใหญ่จะมีข้อมูลดังนี้

  1. แผนการเงินเพื่อการลงทุน
  2. แผนการประมาณรายได้
  3. สถานะทางการเงินของบริษัท เช่น กำไรขาดทุน กระแสเงินสด
  4. การวิเคราะห์ผลตอบแทนที่ได้รับจากการลงทุน หรือที่เรียกว่า การพยากรณ์ยอดขาย 
  5. ระยะเวลาการคืนทุน
  6. คำนวณจุดคุ้มทุน 

7. แผนการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน (Emergency Plan)

คือ การวางแผนเพื่อแก้ไขสถานกาณ์ฉุกเฉิน เช่น ภัยทางธรรมชาติ ปัญหาเศรษฐกิจ หรือการร้องเรียนจากลูกค้า เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น เช่น การวางแผนรับมือปัญหาด้านเศรษฐกิจหลังจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19

จากแนวทางในการเขียนแผนธุรกิจจะเห็นได้ว่า การบริหารจัดการความเสี่ยงที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต เป็นสิ่งที่สำคัญในการพัฒนา ต่อยอด และมีผลต่อการตัดสินใจของนักลงทุนเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อเราวางแผนธุรกิจจะทำให้เราสามารถมองเห็นภาพรวมของธุรกิจ และประเมินถึงความเป็นไปได้ได้ที่ธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้อย่างชัดเจน โดยรูปแบบที่ได้รับความนิยมใช้ในแผนธุรกิจคือ Business Model Canvas 

สุดท้ายนี้ในการสร้างธุรกิจ นอกจากเรื่องของไอเดียในการสร้างสรรค์แล้ว การมีแผนการที่ดีก็เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ เพราะแผนธุรกิจถือเป็นส่วนสำคัญในการจูงใจสถาบันและนักลงทุนสนใจ และพร้อมที่จะสนับสนุนกิจการของเรา แผนการที่ดีจะทำให้เราสามารถลดความเสี่ยงและทำให้ธุรกิจของเราเติบโตอย่างมั่นคงนั่นเอง

หากท่านไหนที่สนใจเกี่ยวกับระบบ SunSystems, CheckSCM หรือบริการอื่นๆ ของ IMAS สามารถติดต่อได้ที่ sale@i-mas.net สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-6667400 หรือ Line Official : @imas.official (มี @ ด้วยนะครับ)

Reference : https://www.wongnai.com/business-owners/how-to-writing-business-plan