7 ความสำคัญการทำสต๊อกสินค้า

การทำสต๊อกสินค้า คือ การจัดเก็บสินค้าที่ “ผลิต” และ “นำเข้า”​ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการจัดส่งให้ลูกค้าตามออเดอร์ นับเป็นอีกหนึ่งขั้นตอนสำคัญของการทำธุรกิจค้าขาย ที่หากการจัดสต๊อกมีปัญหา ก็อาจจะส่งผลกระทบกับการขายของร้านได้ตลอดทั้งวงจร

จะสำคัญอย่างไร iMAS มี 7 ข้อดีของการทำสต๊อกสินค้า ที่จะทำให้คุณต้องใช้เวลาในการทำทำสต๊อกเพิ่มขึ้น เพื่อให้คุณบริหารจัดการร้านค้าของคุณได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นครับ

  1. ขายหน้าร้านได้ต่อเนื่อง ลูกค้าจะซื้อสินค้าเมื่อเกิดความต้องการ ถ้าหากร้านของคุณไม่มีสินค้าที่พร้อมตอบสนองความต้องการนั้น ก็อาจจะพลาดโอกาสในการขาย เพราะอาจจะมีร้านอื่นที่มีสินค้าขายในทันที หากเกิดเหตุการแบบนี้หลายครั้งคุณอาจจะเสียโอกาสในการขายและลูกค้าในระยะยาวได้ ดังนั้น การจัดสต๊อกอย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้คุณมีสินค้าเพียงพอต่อการขายและไม่พลาดในโอกาสในการทำความรู้จักและสร้างลูกค้าประจำของร้าน
  2. คุมกระแสเงินสดภายในร้านได้ สินค้าในสต๊อกคือเงินที่จ่ายล่วงหน้า เพื่อที่จะขายกลับมาเป็นเงินสด ดังนั้นเรื่องของสต๊อกสินค้าจึงส่งผลต่อกระแสเงินสดในร้านโดยตรง ถ้าสินค้าขายไม่ออก ก็ไม่สามารถเปลี่ยนกลับมาเป็นเงินสด ไม่ต้องถามถึงกำไร เพราะเสี่ยงแม้แต่จะขาดทุน การทำสต๊อกและประเมินมูลค่าอยู่เสมอ จะทำให้คุณรู้จำนวนเงินภายในร้าน และรักษาสภาพคล่องเงินของร้านได้เป็นอย่างดี
  3. ติดตามสินค้าตกหล่นได้ อย่างที่คุณรู้ว่าสินค้ามีมูลค่า เมื่อสินค้าหายเท่ากับเงินสดในร้านของคุณหายเช่นกัน และต่อให้หาเจอ คุณอาจจะเสียเวลาไปกับการจัดการปัญหาและการจัดส่งสินค้าให้ตรงตามเวลา ซึ่งนั่นไม่ใช่เรื่องดี

    การทำสต๊อกสินค้าจะทำให้คุณเห็นภาพการเข้าออกของสินค้าตลอดเวลา เข้าเท่าไหร่ ออกเท่าไหร่ ออกตอนไหน ขายไปเท่าไหร่ ลดโอกาสสินค้าตกหล่น เพราะคุณสามารถติดตามได้หมด และต่อให้สินค้าตกหล่น ก็สามารถประเมินความเสียหาย และลงบัญชีรายรับรายจ่ายของร้านได้อย่างแม่นยำ
  4. ลดต้นทุนในการสั่งซื้อ นอกจากต้นทุนของสินค้าที่ซื้อ ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จะเกิดขึ้นระหว่างการสั่งซื้อ (Ordering Cost) ไม่ว่าจะเป็น ค่าเอกสารใบสั่งซื้อ ค่าจ้างพนักงาน ค่าโทรศัพท์ ค่าขนส่งสินค้า ค่าใช้จ่ายการตรวจรับของและเอกสาร ค่าธรรมเนียมและภาษีต่างๆ รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในสำนักงาน เป็นค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นต่อจำนวนครั้งการสั่งซื้อ ยิ่งนำเข้าถี่ ต้นทุนส่วนนี้ก็ยิ่งสูง แต่ถ้าซื้อน้อยก็อาจเจอปัญหาสินค้าขาดสต๊อก การจัดการสต๊อกจะช่วยให้คุณวางแผนการซื้อได้รอบคอบขึ้น เป็นการควบคุมต้นทุนในการสั่งซื้อได้เป็นอย่างดี
  5. วางแผนการซื้อได้เหมาะสม สินค้าทุกอย่างมีต้นทุนและกำไรที่แตกต่างกัน และไม่ได้ขายได้ในปริมานเท่ากัน การทำสต๊อกสินค้า จะทำให้คุณวางแผนการซื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ว่าสิ่งใดควรซื้อเยอะ สิ่งใดควรซื้อน้อย ตรงนี้จะทำให้คุณตุนของที่ขายได้ดี และได้กำไร ในขณะที่ของที่ขายได้น้อย ก็ตุนให้น้อยลงแต่เพียงพอแต่การขาย สามารถจัดการได้ด้วย หลักการ ABC XYZ จะทำให้คุณจำแนกสินค้าได้ว่าควรสต๊อกสินค้าเท่าไหร่
  6. ลดค่าใช้จ่ายการจัดเก็บสินค้า สินค้าจะต้องอยู่ในสภาพดีพร้อมจัดส่ง จึงต้องมีการเก็บรักษาเป็นอย่างดี การจัดเก็บอย่างดีมีต้นทุน ไม่ว่าจะเป็น ค่าคลังสินค้า ค่าไฟฟ้าเพื่อการรักษาอุณหภูมิ ค่าใช้จ่ายของสินค้าที่ชำรุดเสียหายหรือหมดอายุ ค่าภาษีและการประกันภัย ค่าจ้างยามและพนักงานประจำคลังสินค้า ฯลฯ ถือเป็นต้นทุนต่อสต๊อก

    ค่าใช้จ่ายนี้จะแปรผันตรงกับปริมาณและระยะเวลาที่เก็บรักษา ถ้าคุณไม่ทำสต๊อกสินค้าและสต๊อกสินค้าเกินจำเป็น ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ต้องบานปลายแน่นอน การทำสต๊อกจะทำให้คุณกักตุนสินค้าในปริมาณที่พอเหมาะ เป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ในตัว
  7. ลดปัญหา Dead Stock ขายดี แต่ไม่เห็นกำไร อาจเป็นเพราะเงินของคุณกำลังจมอยู่กับสินค้าค้างสต๊อก (Dead Stock) ที่เกิดจากการสต๊อกสินค้าเกินจำเป็นและขายสินค้าไม่ทัน จนสินค้าชำรุดและเสื่อมสภาพ ทำให้ขายสินค้ากลับมาเป็นเงินไม่ได้

    การทำสต๊อกจะทำให้คุณวางแผนการขายการซื้อ เพื่อถ่ายสินค้าที่ใกล้หมดอายุเสื่อมสภาพได้ทันเวลา ลดปัญหานี้ไปได้ การทำสต๊อกจะทำให้คุณวางแผนการขายการซื้อได้ดี และขายสินค้าได้ทันเวลาก่อนสินค้าจะเสื่อมสภาพ

หากท่านไหนที่สนใจเกี่ยวกับระบบ SunSystems, CheckSCM หรือบริการอื่นๆ ของ IMAS สามารถติดต่อได้ที่ Chanaporn@i-mas.net หรือ sunsupport@i-mas.net สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-6667400 หรือ Line Official : @imas.official (มี @ ด้วยนะครับ)

Reference : https://pospos.co/article/detail/benefit-inventory