ทำความรู้จักกับ “ภาษีธุรกิจเฉพาะ”

ภาษีธุรกิจเฉพาะคือภาษีที่เก็บจากกิจการบางประเภทที่กฎหมายกำหนดเป็นพิเศษแยกจากภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกรมสรรพากรเป็นผู้จัดเก็บจากธุรกิจที่เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล โดยผู้ประกอบการที่มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะด้วยแบบคำขอ ภ.ธ.01 ภายใน 30 วันนับแต่วันเริ่มกิจการ โดยมีธุรกิจที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ 8 ประเภท ดังนี้

  1. กิจการธนาคาร
  2. ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
  3. การรับประกันชีวิต
  4. การรับจำนำ
  5. การประกอบการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ ได้แก่ การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่างๆ
  6. การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร
  7. การซื้อและขายคืนหลักทรัพย์
  8. การประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริ่ง เป็นธุรกิจที่ลูกค้าตกลงจะโอนหนี้ทางการค้า ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริ่ง โดยผู้ประกอบการธุรกิจแฟ็กเตอริ่งนั้นตกลงจะให้สินเชื่อรวมถึง การรับที่จะดำเนินธุรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ การบริหารลูกหนี้ การเรียกเก็บหนี้ เป็นต้น

ฐานและอัตราภาษีสำหรับภาษีธุรกิจเฉพาะ

ฐานภาษีสำหรับการคำนวณภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ รายรับก่อนหักรายจ่ายของผู้ประกอบการภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ว่าจะมาจากในหรือนอกราชอาณาจักร โดยคำนวณจากรายรับตามฐานภาษีของกิจการแต่ละประเภท คูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนดไว้ รวมกับภาษีท้องถิ่นอีกร้อยละ 10 ของจำนวนเงินภาษีธุรกิจเฉพาะที่คำนวณได้ โดยอัตราภาษีแสดงตามตารางดังต่อไปนี้

วิธียื่นแบบภาษีธุรกิจเฉพาะ

  1. ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการโดยใช้แบบ ภ.ธ.40 โดยแสดงประเภทกิจการ จำนวนเงินรายรับ จำนวนเงินภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีท้องถิ่นร้อยละ10ของภาษีธุรกิจเฉพาะ
  2. ผู้ประกอบการมีหน้าที่ที่ต้องยื่นแบบไม่ว่าจะมีรายรับในเดือนนั้นหรือไม่ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาในท้องที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ หรือสามารถยื่นแบบทางออนไลน์ได้ทางเว็บไซต์ของกรมสรรพากรซึ่งได้รับสิทธิ ขยายเวลายื่นแบบและชำระภาษีออกไปอีก 8 วันนับตั้งแต่วันสุดท้ายของการยื่นแบบ
  3. ภาษีในเดือนภาษีใด เมื่อรวมคำนวณแล้วมีจำนวนไม่ถึง 100 บาท ผู้ประกอบการไม่ต้องเสียภาษีสำหรับเดือนภาษีนั้น แต่ยังคงต้องยื่นแบบแสดงรายการตามปกติ

เอกสารหลักฐานที่ต้องจัดทำ

  1. รายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่าย โดยจัดทำเป็นรายวันและสรุปรายการทุกสิ้นเดือน
  2. รายงานแสดงรายรับก่อนหักรายจ่าย จัดทำเป็นรายสถานประกอบการและลงรายการให้เสร็จภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีรายรับ
  3. จัดเก็บรายงานดังกล่าวและเอกสารประกอบเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือวันจัดทำรายงานแล้วแต่กรณี

หากท่านไหนที่สนใจเกี่ยวกับระบบ SunSystems หรือบริการอื่นๆ ของ IMAS สามารถติดต่อได้ที่ Chanaporn@i-mas.net หรือ sunsupport@i-mas.net สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-6667400 หรือ Line Official : @imas.official (มี @ ด้วยนะครับ)

Reference : https://peakaccount.com/blog/tax/gen-tax/tax-specific-business