พาไปรู้จักกับ ภาษีของธุรกิจ SMEs

มีคำกล่าวว่า สิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ คือความตาย และภาษี แม้ในบทบาทคนธรรมดา แค่ซื้อของในร้านสะดวกซื้อก็ได้จ่ายภาษีแล้ว ดังนั้น ในการทำธุรกิจก็ย่อมหนีไม่พ้นเรื่องภาษีเช่นเดียวกัน เมื่อผู้ประกอบการทำการจดทะเบียนเป็นบริษัทแล้วนั้น จะมีภาษีที่เกี่ยวข้องด้วยกันอยู่หลายประเภท จำเป็นต้องทำความเข้าใจและทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยเฉพาะสำหรับธุรกิจ SMEs ที่ต้องวางแผนจัดการให้ดี ไม่อย่างนั้นอาจโดนปรับเบี้ยเพิ่มจากกรมสรรพากร ลองมาดู 6 ประเภทภาษี ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ SMEs ว่ามีอะไรบ้าง

1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล

“ภาษีเงินได้นิติบุคคล” คือ ภาษีสำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนแบบนิติบุคคล ทั้งในรูปแบบบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน โดยทางกรมสรรพากรจะเป็นผู้จัดเก็บเพื่อนำส่งรายได้ให้รัฐบาล เรียกง่าย ๆ คือ ภาษีที่รัฐเรียกเก็บจากนิติบุคคลนั่นเอง โดยในหนึ่งปีจะยื่น 2 ครั้ง คือภาษีเงินได้ครึ่งปีโดยใช้ ภ.ง.ด. 51 และภาษีเงินได้ ประจำปีโดยใช้ ภ.ง.ด.50

สำหรับภาษีเงินได้นิติบุคคล ฐานภาษีจะคำนวณมาจากกำไรสุทธิทางภาษี เรียกง่ายๆ คือ จะเก็บภาษีจาก “ผลกำไร” ของบริษัท ดังนั้น เพื่อไม่ให้เสียเปรียบ บริษัทจำเป็นต้องมีการทำบัญชีที่ชัดเจน รับรู้ต้นทุน รายได้ที่ถูกต้อง เพื่อนำมาใช้คำนวณผลกำไร ซึ่งส่วนของกำไรนี้เอง ที่จะคิดเป็น “เงินได้” ที่ต้องเสียภาษี

2. ภาษีมูลค่าเพิ่ม

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax) หรือที่เรียกว่า VAT คือ ภาษีที่เก็บเพิ่มจากราคาสินค้าหรือบริการที่คิดกับลูกค้า โดยอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มในปัจจุบันจะอยู่ที่ 7% โดยตามกฎหมายประเภทภาษีนี้ไม่ว่าจะเป็นบริษัทเล็กหรือใหญ่ หากมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี บริษัทจะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มกับกรมสรรพากร และต้องนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มนี้ให้กับสรรพากรในเวลาที่กำหนด โดยใช้ ภ.พ.30 (เอกสารสรุปภาษีซื้อ-ภาษีขาย) ในการยื่นแสดงภาษีมูลค่าเพิ่มแก่กรมสรรพากรทุกเดือน

ประเภทภาษีภาษีมูลค่าเพิ่ม การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องนำส่ง จะคำนวณมาจาก ‘ภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ’ โดยภาษีขายก็คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เราเรียกเก็บกับลูกค้า โดยเก็บเพิ่มหรือบวกเพิ่มไปในราคาสินค้า/บริการ ส่วนภาษีซื้อ ก็คือภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ที่เราชำระให้กับผู้ขาย เมื่อไปซื้อสินค้า/บริการกับที่อื่น (ซึ่งส่วนนี้จะเป็นภาษีที่ขอคืนได้)

ถ้าในเดือนภาษีนั้น ภาษีขาย มากกว่า ภาษีซื้อ ผู้ประกอบการจะต้องจ่ายเท่ากับส่วนต่างระหว่างภาษีขายและภาษีซื้อให้กรมสรรพากร แต่ถ้าภาษีซื้อมากกว่าภาษีขาย จะสามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มนี้จากสรรพากรได้ หรือเก็บเป็นเครดิตไว้หักลบในเดือนถัดไปก็ได้ ดังนั้นการจัดการภาษีซื้อ ภาษีขายจึงมีความสำคัญมาก หากไม่มีการบันทึกบัญชีภาษีซื้ออย่างถูกต้องตามจริง จะทำให้เสียโอกาสในการขอคืนภาษีได้

3. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย

ภาษีหัก ณ ที่จ่าย คือ ภาษีที่ผู้จ่ายเงินต้องหักเงินผู้รับเงิน เอาไว้บางส่วน หากเข้าใจง่ายๆ คือ เมื่อบริษัท ต้องได้ไปจ่ายค่าบริการต่างๆ ให้แก่บุคคลหรือนิติบุคคล บริษัทจะต้องหักเงินจำนวนหนึ่งตามกฎหมาย หรือ หัก ณ ที่จ่ายเอาไว้เพื่อนำส่งภาษีให้รัฐฯ จำนวนเงินที่หัก ณ ที่จ่ายเอาไว้นั้นจะต้องนำส่งสรรพากรภาย ในวันที่ 7 ของเดือนถัดไปโดยใช้แบบ ภงด.3 (หัก ณ ที่จ่ายบุคคลธรรมดา) หรือ ภงด.53 (หัก ณ ที่จ่าย นิติบุคคล)

โดยประเภทภาษีหัก ณ ที่จ่าย อัตราภาษีที่ต้องหัก จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าเราจ่ายให้ใครและจ่าย ค่าอะไร เช่น ค่าบริการ หัก ณ ที่จ่าย 3%, ค่าเช่า หัก ณ ที่จ่าย 5%, ค่าขนส่ง หัก ณ ที่จ่าย 1% เป็นต้น และผู้หักจะต้องออกหนังสือรับรองหัก ณ ที่จ่าย ให้แก่ผู้ถูกหัก หนังสือฉบับนี้ผู้ถูกหักสามารถนำไปขอคืน จากรัฐหรือไปลดภาระภาษีได้

4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ

ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ภาษีที่เรียกเก็บแบบเฉพาะธุรกิจ บางธุรกิจเท่านั้น โดยทั่วไป เช่น ธนาคารพาณิชย์ โรงรับจำนำ ธุรกิจค้าขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น รายละเอียดจะอยู่ในกฎหมายเฉพาะที่ใช้กำกับดูแลธุรกิจแต่ละประเภทโดยเฉพาะ ซึ่งถ้าทำธุรกิจที่เข้าข่ายธุรกิจเฉพาะก็จำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการยื่นภาษี

5. ภาษีป้าย

ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ภาษีที่เรียกเก็บแบบเฉพาะธุรกิจ บางธุรกิจเท่านั้น โดยทั่วไป เช่น ธนาคารพาณิชย์ โรงรับจำนำ ธุรกิจค้าขายอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น รายละเอียดจะอยู่ในกฎหมายเฉพาะที่ใช้กำกับดูแลธุรกิจแต่ละประเภทโดยเฉพาะ ซึ่งถ้าทำธุรกิจที่เข้าข่ายธุรกิจเฉพาะก็จำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจเพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการยื่นภาษี

6. อากรแสตมป์

อากรแสตมป์ คือ ภาษีประเภทหนึ่งที่รัฐจัดเก็บจากการกระทำตราสาร (เอกสารแสดงสิทธิ์ต่างๆ) หรือ ทำสัญญา ซึ่งตามประมวลรัษฎากรแล้วภาษีประเภทนี้จะจัดเก็บในรูปแบบของดวงแสตมป์ ใช้ในการปิด บนเอกสารที่ใช้ในราชการ ปิดบนหนังสือสัญญาต่าง ๆ ซึ่งสามารถซื้ออากรแสตมป์ได้ที่กรมสรรพากร

อากรแสตมป์ ไม่ใช่แสตมป์สำหรับส่งไปรษณีย์ แต่อากรแสตมป์เป็นภาษีที่ต้องเสียเมื่อทำธุรกรรมบางอย่าง (มี 28 อย่าง) เช่น สัญญาเช่าที่ เช่าซื้อ จ้างทำของ หรือการกู้ยืมเงิน เป็นต้น

ท่านไหนที่ทำธุรกิจ SMEs อยู่ตอนนี้ ก็อย่าลืม ภาษีทั้ง 6 ประเภทนี้นะครับ ท่านไหนที่สนใจเกี่ยวกับระบบ SunSystems หรือบริการอื่นๆ ของ IMAS สามารถติดต่อได้ที่ Chanaporn@i-mas.net หรือ sunsupport@i-mas.net สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-6667400 หรือ Line Official : @imas.official (มี @ ด้วยนะครับ)