แนวทางการเลือกรูปแบบ Cloud Computing
เมื่อครั้งที่แล้วเราได้พาทุกๆ คนไปทำความรู้จักกับ Cloud Computing กันแล้วว่า Cloud Computing คืออะไร และมีกี่ประเภท และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง มาในวันนี้เรามาเสริมข้อมูลเพิ่มกันให้มากขึ้น กับบริการของ Cloud Computing และแนะแนวทางว่าบริษัทของคุณเหมาะกับการเลือกใช้ Cloud Computing แบบไหน
Software as a Service (SaaS)
คือ บริการที่ให้ใช้หรือเช่าใช้บริการ Software และ Application ผ่านอินเทอร์เน็ต โดยประมวลผลบนระบบของผู้ให้บริการโดยที่เราไม่ต้องกังวลหรือหาคนมาดูแล Infrastructure และคนมาสร้าง Application ให้เรา เพราะทุกอย่างได้ถูกจัดเตรียมมาโดยผู้ให้บริการเรียบร้อยแล้ว
ข้อดี คือ ไม่ต้องลงทุนในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์เอง ซอฟต์แวร์จะถูกเรียกใช้งานผ่าน Cloud จากที่ไหนก็ได้
Platform as a Service (PaaS)
คือ การให้บริการด้าน Platform สำหรับผู้ใช้งาน เช่น นักพัฒนาระบบ หรือ Developer ที่ทำงานด้าน Software และ Application โดยผู้ให้บริการ Cloud จัดเตรียมทรัพยากรสำหรับการพัฒนาระบบที่จำเป็น เช่น Hardware, Software และ ชุดคำสั่ง เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถพัฒนาระบบได้อย่างสมบูรณ์แบบบนระบบ Cloud
ข้อดี คือ สามารถช่วยลดต้นทุนและเวลาที่ใช้ในการพัฒนาซอฟท์แวร์ได้
Infrastructure as a Service (IaaS)
คือ บริการที่ครอบคลุมเฉพาะในส่วนของโครงสร้างพื้นฐานทางด้านไอทีได้แก่ ระบบเครือข่าย (Network), ระบบจัดเก็บข้อมูล (Database), ระบบประมวลผล (CPU) ไปจนถึงอุปกรณ์พื้นฐาน เช่น Servers และ ระบบปฏิบัติการ (OS)ใ นรูปแบบระบบเสมือน (Virtualization) โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนซื้อ Hardware ที่มีราคาแพง
ข้อดี คือ ไม่ต้องลงทุนซื้อเอง สามารถขยายได้ง่ายตามการเติบโตของบริษัทและมีความยืดหยุ่นสูง ลดความยุ่งยากในการดูแลระบบเอง แต่จำเป็นต้องมีผู้ดูแลระบบด้าน IT
จะเห็นได้ว่าแท้จริงแล้ว Cloud Computing ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีที่ไกลตัวและยังใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้กับธุรกิจทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก หรือแม้กระทั้งโปรเจกต์เล็ก ๆ ของเราให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มศักยภาพทั้งในด้านของความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น และความปลอดภัย รวมไปถึงยังสามารถช่วยลดต้นทุนและประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้มากอีกด้วยเช่นกัน แต่เพิ่มเติมมากกว่านี้ ผมจะขอเสริมอีกหนึ่งแนวทางดีๆ เพื่อเพิ่มการตัดสินใจว่า Cloud Computing แบบไหนเหมาะกับองค์กรของคุณ
- งานหรือโปรเจกต์ที่มีผู้ใช้จำนวนมาก ในยุค New normal ที่ธุรกิจเริ่มหันมาทำงานบน Online มากขึ้น เช่น การจัด Virtual Exhibition, การลงทะเบียน หรือการสมัครสมาชิกต่างๆ ที่ต้องใช้ระบบ Website และมีระบบ Cloud Server หรือ Cloud Hosting สำหรับรองรับการใช้งานจำนวนมาก
- ระบบสำรองข้อมูลฉุกเฉินเมื่อเกิดภัยพิบัติ (Disaster Recovery) เป็นโซลูชันของ Cloud Services ที่จะช่วยให้การทำงานขององค์กรไม่ต้องหยุดชะงัก สามารถสลับการทำงานไปยังระบบสำรองได้ทันที เมื่อเกิดเหตุไม่คาดคิดต่างๆ เช่น การล็อกดาวน์, ภัยทางธรรมชาติ, หรืออุบัติเหตุต่างๆ จึงช่วยลดความเสี่ยงในการหยุดการทำงานขององค์กรได้
- การทำงานที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ (Unpredictable Workloads) ธุรกิจส่วนใหญ่มักมีลูกค้าเข้ามาซื้อหรือใช้บริการในช่วงเวลาที่ไม่เท่ากัน จึงทำให้บางช่วงเกิดการกระจุกตัวที่คอขวด หรือเกิดโหลดการทำงานจำนวนมาก ซึ่ง Cloud Computing สามารถยืดหยุ่นการใช้งานเฉพาะช่วงเวลานั้นได้ การย้ายระบบ หรือ Migrate to Cloud จึงช่วยรองรับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
- การใช้งานที่ต้องขยายเพื่อรองรับการทำงาน (Scalability) องค์กรหรือธุรกิจส่วนใหญ่มักจะมีอัตราการเพิ่มขึ้นของข้อมูลจำนวนมากอยู่ตลอดเวลา ทำให้ฐานเก็บข้อมูลต้องขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การลงทุนใช้ทรัพยากรด้าน IT แบบ On-Premises หรือ Server แบบเดิมซึ่งต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากทำให้ไม่สามารถตอบโจทย์การทำธุรกิจในปัจจุบันได้ การลงทุนบน Cloud Computing ซึ่งสามารถให้ผลลัพธ์การทำงานที่ดีกว่าจึงสามารถรองรับข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพและลงทุนน้อยกว่า
- งานที่ต้องมี Storage หรือพื้นที่เก็บข้อมูลขนาดใหญ่ การเติบโตของข้อมูลขยับขยายอย่างต่อเนื่อง ซึ่ง Cloud Computing สามารถจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บข้อมูลให้คุณจุข้อมูลที่สำคัญๆ ได้มากขึ้น
- การประมวลผลขั้นสูง (intelligence solutions) Cloud Computing เป็น Server ขนาดใหญ่ที่มีกำลังการประมวลผลขั้นสูง ทำให้สามารถนำไปต่อยอดใช้งานกับเทคโนโลยีอื่นๆ ได้ เช่น Big Data, Machine Learning หรือ AI ได้ ซึ่งผู้ให้บริการก็มีโซลูชันการประมวลผลที่แตกต่างกัน เช่น Nvision เป็นต้น ทำให้องค์กรสามารถประยุกต์การใช้งานจากข้อมูลที่มีอยู่ได้อย่างคุ้มค่าสูงสุด
ทั้งหมดนี้ก็น่าจะทำให้ทุกคนเข้าใจถึงการใช้งานในระบบ Cloud Computing ได้มากขึ้นแล้ว และในครั้งหน้าหากมีข้อมูลอะไรดีๆ เราจะมาอัพเดทเพิ่มกันกันใหม่อีกนะครับ 🙂
หากท่านไหนที่สนใจเกี่ยวกับระบบ Sun Systems หรือบริการอื่นๆ ของ IMAS สามารถติดต่อได้ที่ Chanaporn@i-mas.net หรือ sunsupport@i-mas.net สอบถามเพิ่มเติม โทร 02-6667400 หรือ Line Official : @imas.official (มี @ ด้วยนะครับ)
Reference : https://blog.openlandscape.cloud และ https://nipa.cloud